วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีไร้สายยุคต่างๆ

เทคโนโลยีไร้สายยุคต่างๆ


ยุค 1 G   เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รอบรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ  ทั้งสิ้น   สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว  คือ  สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น  ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์  โดยใช้วิธีปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร  ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ  ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่  ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่  และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย




ยุค 2 G   เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล  โดยส่งผ่านทางคลื่นำมโครเวฟ  ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ  และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือเรียกว่า  เซลล์ไซต์  (cell  site)  และก่อให้เกิดระบบ  GSM  (Global  System  for  Mobile  Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั้งโลก  หรือที่เรียกว่า  บริการข้ามเครือข่าว  (roaming)


ยุค 3 G   ใช้บริการมัลติมีเดีย  และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น  มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิตต่อวินาที  หรือเร็วกว่าสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น  สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า  (viedo telephony)  และการประชุมไกลผ่านวิดีโอ  (video  conference)  ช่วยมห้สามารถสื่อสารได้พร้อมกับทั้งภาพและเสียง  รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล  ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัดและสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming)  ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM


ยุค 4 G   เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ  มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ  20-40  เมกกะบิตต่อวินาที  สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ  (three - dimensional  : 3D)  ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้  เช่น  อินเทอร์เน็ตไร้สาย  เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น       




ที่มา :  หนังสือการเรียนการสอนเทคโนโลยี ปีการศึกษา ม.2   กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น