วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครอข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุับัน  ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอ์มีประโยชน์หลายประการ  ดังนี้
          1.ความสะดวกในการจัดเก็ยข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก  (diskette)  ที่มีความหนาแน่นสูงได้  แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า  1  ล้านตัวอักษร  สำหรับสื่อสารข้อมูลนั้น  ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา  120  ตัวอักษรต่อวินาที  จะทำให้สามารถส่งข้อมูล  200  หน้า  ได้ในเวลาเพียง  40  นาที  โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
          2.ความถูกต้องของข้อมูล  โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิทัล  วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูล  หากมีข้อมูลผิดพลาดจะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลทีไ่ด้รับมีความถูกต้อง  โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
          3.ความเร็วของการทำงาน  สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าความเร็วแสงทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง  หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่  สามารถทำได้อย่างรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะกวดสบายอย่างยิ่ง  เช่น  บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถรับทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้การจองที่นั่ของสายการบินสามารถทำได้ทันที
          4.ประหยัดทุนในการสื่อสารข้อมูล  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันเป็นเครือข่าย  เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล  ทำหใ้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่สูงนัก  เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น  เช่น  การใช้อีเอลส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  การใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
          5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง  กล่าวคือ  สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  โดยที่แต่ละแผนกในรบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน  ไม่ต้องเก็บมข้อมูลที่ซำ้ซ้อน  กระจัดกระจายกันไปในคอมพิวเตอร์ทุกแผนก  ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากส่วนกลางได้ทันที
          6.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของระบบร่วมกันได้  ในระบบเครือข่ายนั้น  จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้  โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น  อาจต่ออยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย  แต่สามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครอข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง  ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายใรการซื้อแุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบ เช่น  สามารถให้เครื่องพิมพ์ตัวเดียวซึ่งต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครอข่ายรับคำสั่งในการพิมพ์งานจากทุกๆเครื่องในเครือข่ายได้ทันทีเป็นต้น
          7.การทำงานแบบกลุ่ม  สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแปนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี  เช่น  สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงานกล่าวคือ  ในระบบงานเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะต้องผ่านการแก้ไขหลายขั้น  ซึ่งจะให้คอมพิวเตอ์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตัวเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูลของเอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่ายทำขั้นตอนต่อไป เป็นต้น




ที่มา  :  หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ม.2  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไ.ศ  2551

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยี
เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภทหลัก  ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย  และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย  ดังนี้


(1.)เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย  แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้  3  ชนิด  ดังนี้  
          1.สายเกลียวคู่  (twisted  pair  cable)  ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง  2  เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก  พันบิดเป็นเกลียว  เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้าวเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน  หรือจากภายนอก  เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้ศัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้  สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย  คือ  สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง  และสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้  ทำให้สามารภส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง โดยทั้วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล  สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง  100  เมกกบิตต่อวินาที  ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร  เนื่องจากมีราคาแพงไม่มาก  ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง  สายตีเกลียวคู่มี  2  ชนิดดังนี้
          1.1สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน  (Un-shielded  Twisted  Pair  :  UTP)  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก  ทำให้สะดวกในการโค้งงอ  แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุ้มฉนวน  (STP)  ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบดั้งเดิม  ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น  สามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้  และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย
          1.2สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน  (Shielded  Twisted  Pair  :  STP)
เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา  เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  รองรับความถี่ของการส่งข้อมูลได้สูงกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน  แต่มีราคาแพงกว่า
          2.สายโคแอกซ์  (coaxial  cable)  มีลักษณะเช่นเดีนสกับที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง  เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว  จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติกสัญญาณไฟฟ้าสามรถผ่านได้สูงมาก  นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณเชื่อมโย่งผ่านต้ทะเลและใต้ดิน  สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี  2  ชนิด  คือ  50โอห์ม  ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล  และชนิด  75  โอห์ม  ซึ่งใช้ส่งข้อมูงสัญญาณอะนาล็อก
          3.สายใยแก้วนำแสง  (fiver  optic  cable)  หรือเส้นใยนำแสง  แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวง  หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน  เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์  เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกด้วยฉนวน   การส่องข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น  และอาศัยหลักการหักเหของแสง  โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง  สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก  และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร  ภาพกราฟฟิก  เสียง  หรือวิดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน  แต่ยังมีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทหใ้เว้นใยหัก  จึงไม่สามารใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตุกได้  สายใยแก้ว นำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปขุด  จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง


(2.)เทคโนโลยีแบบไร้สาย  เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สายอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณซึ่งสามารถแบ่งตามช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้  4  ชนิด  ดังนี้
          1.อินฟาเรด  (infrared)  เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งจ้อมูลระยะใกล้ๆในช่งความถี่ที่แคบมาก  ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย  มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ  โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง  ระยะทางไม่เกิน  1-2  เมตร  ความเร็วประมาณ  4-16  เมกกะบิตต่อนาที  เช่น  การส่งสัญญาณจากรีโมตคอมโทรลไปยังโทรทัศน์  การเชื่อมต่อคมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไดอาร์ดีเอ  เป็นต้น 
          2.คลื่นวิทยุ  (radio  Frequency)  ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ  โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ  และใช้คลื่นวิทยึในช่วงความถี่ต่างๆ กัน  มีความเร็วต่ำประมาณ  2  เมกกะบิตต่อนาที  เช่น  การสื่อสารในระบบวิทยุึเอฟเอ็ม  (Frequency  Modulation  :  FM)  เอเอ็ม  (Amplitude  Modulation  :  AM)
การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย  (Wi-Fi)  และบลูทูท
          3.ไมโครเวฟ  (microwave)  จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่งและต้องมีสถาณีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล  และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามของโลกได้  จึงต้องมีการตั้งสถานีปลายทาง  และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูงเช่น  ดาดฟ้าของตึกสูง  ยอดเขา  เป็นต้น  เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ  เหมาพกับการส่งข้อมูลในพื้รที่ห่างไกล  และทุรกันดาร
          4.ดาวเดียว (satellite)  เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า  ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก  เพื่อใช้เป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศและทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลกซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน  ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที๋โคจรอยู่ึสูงจากพื้นโลกประมาณ  35,600 ไมล์ฺ  โยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก  จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะโลกหมุนรอตัวเอง  ทำให็การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆบนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ






ที่มา  :  หนังสือเทคโนโลยีสื่อสาร  ม.2  ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานปี  พ.ศ.2551
          
          

โพรโทคอล

โพรโทคอล
          โพรโทคอล  (protocol)  คือ  ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์ตะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร  ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน  และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป
          การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น  จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น  เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่งเข้าใจได้โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงทีกำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ  ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล  วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล  การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง  ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย  ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลและ  การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
           ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโพรโทคอลต่าง  ร่วมกันทำงานมากมาย  นอกจากโพรโทคอลระดับประยักต์แล้ว  การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งโพรโืทคอลที่ใ้ชในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภทเป็นต้น  ตัวอย่างเช่น 
          1.โพรโทคอลเอชทีทีพี  (Hyper  Text  Transfer  Protocol  :  HTTP)  เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวดืเว็ป  โดยมีขุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล  (Hyper  Text  Markup  Language  :  HTML)  ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย  ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็ปกับเครื่องแม่ข่าย  (web  server)  โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี  (Transfer  Control  Protocol  :  TCP)
          2.โำพรโทคอลทีซีพี/ไอพี  (transfer  Control Protol  /  Internet  Protocal  :  TCP/IP)เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต  โยมีการระบุผู้รับ  ผู้ส่งในเครือข่าย  และแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านอินเทอร์เน็ต  ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่
          3.โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี  (Simple  Mail  Transfer  Protocol  :  SMTP)  คือโพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณย์อิเล้กทรอนิกส์  (electronic  mail)  หรืออิเมล  (Email)  ไปยังจุดหมายปลายทาง
          4.บลูทูท (bluetooth)  เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่  2.4  GHz  ในการรับส่งข้อมูล  คล้ายกับระบบแลนไร่้สาย  เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย  เช่น  เครื่องพิมพ์  เมาส์  คีย์บอร์ด  โทรศัพท์เคลื่อนที่  หูฟัง  เป็นต้น  เข้าด้วยกันได้สะดวก
          ปัจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย  นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างค้น เช่นการโอนย้ายแฟ้มข้อมุลระหว่างกัน  ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี  (File  Transfer  Protocol  :  FTP)  การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี  (Network  News  Transfer  Protocol  :  NNTP)
เป็นต้น  จะเห็นได้ส่าการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ  ขึ้นใช้งาน  ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งารโพรโทคอลต่างๆหลายโพรโทคอลร่วมกัน






ที่มา  :  หหนังสือเทคโนโลยีสารสนเทสและการสื่อสาร  ม.2  ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ.2554

เครือข่ายของคอมพิวเตอร์

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์  :  (computer  network)  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน  เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามสภาพการเชื่อมโยงเป็น 4 ชนิด  ดังนี้
          
          1.เครือข่ายส่วนบุคคล
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal  Area  Network  :  PAN)  เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้  เช่น  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ  เป็นต้น
          
          2.เครือข่ายเฉพาะที่
เครือข่ายเฉพาะที่  หรือแลน  (Local  Area  Network  :  LAN)  เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน  เช่น  ภายในอาคาร  หรือภายในองคืการที่ระยะทางไม่ไกลมากนัก  เป็นต้น  โยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย  เช่น  ฮับ  สวิตซ์  เป็นต้น  ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่  สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ  และเครือข่ายแลนจะเชื่อต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง  (router)  การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองคืกร  สามารถดำเนินการเองได้โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง  เครือข่ายแลนมีฃตั้งแต่เครืองข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน  จนถึงเชื่อโยงระหว่างห้องหรือองค์การขนาดใหญ่  เช่น  ภายในสำนักงาน  ภายในโรงเรียนหรือ  มหาวิทยาลัย  เป็นต้น  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ  เครื่องที่เชื่อมต่อกัน  สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่าง  สะดวก  รวดเร็ว  และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย
          
          3.เครือข่ายนครหลวง
เครือข่ายนครหลวง  หรือแมน  (Metropolitan  Area  Network  :  MAN)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างกัน  เช่นระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร  ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน  เป็นต้น  โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง  5-40  กิโลเมตร  ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสง  สายโคแอกเชียล  หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ 
          
          4.เครือข่ายวงกว้าง 
เครือข่ายวงกว้าง  หรือแวน  (Wide  Area  Network  :  WAN)  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ใช้เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล  มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง  เช่น  เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด  ระหว่างประเทศ  เป็นต้น




ที่มา  :  หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2551

ความหมายและการพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

          การสื่อสาร (communication) :  การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งส่วนข้อมูล  (data)  หมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อทเ็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักการหาความจริง  โดยในที่นี้จะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข  0 หรือ 1  ต่อเนื่องกันไป  ซึ่งเป็นค่าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
           
          พัฒนากาของการสื่อสารข้อมูล :  การติดต่อสื่อสารของมนุษย์สมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  เช่น  การใช้ม้าเร็ว  ใช้นกพิราบในการสื่อสาร  เป็นต้น  แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิต  เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่มาโดยตลอด  เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร  มีการใช้โทรเลข  โทรศัพท์  วิทยุสื่อสาร  โทรทัศน์  ดาวเทียม  ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก  (Global  Positioning  System  : GPS)  ระบบ 3G  และ  4G  ตามลำดับ  การสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินเสียงและได้เห็นภาพเหล่านี้  ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดทของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง




ที่มา : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ  ม.2 และการสื่อสารตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีไร้สายยุคต่างๆ

เทคโนโลยีไร้สายยุคต่างๆ


ยุค 1 G   เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รอบรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ  ทั้งสิ้น   สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว  คือ  สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น  ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์  โดยใช้วิธีปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร  ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ  ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่  ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่  และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย




ยุค 2 G   เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล  โดยส่งผ่านทางคลื่นำมโครเวฟ  ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ  และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือเรียกว่า  เซลล์ไซต์  (cell  site)  และก่อให้เกิดระบบ  GSM  (Global  System  for  Mobile  Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั้งโลก  หรือที่เรียกว่า  บริการข้ามเครือข่าว  (roaming)


ยุค 3 G   ใช้บริการมัลติมีเดีย  และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น  มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิตต่อวินาที  หรือเร็วกว่าสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น  สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า  (viedo telephony)  และการประชุมไกลผ่านวิดีโอ  (video  conference)  ช่วยมห้สามารถสื่อสารได้พร้อมกับทั้งภาพและเสียง  รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล  ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัดและสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming)  ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM


ยุค 4 G   เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ  มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ  20-40  เมกกะบิตต่อวินาที  สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ  (three - dimensional  : 3D)  ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้  เช่น  อินเทอร์เน็ตไร้สาย  เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น       




ที่มา :  หนังสือการเรียนการสอนเทคโนโลยี ปีการศึกษา ม.2   กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บรอดแบนด์ (brodband)

เกร็ด ....IT


บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง  รับปริมารสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ  ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว  ด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber  Line  :  ADSL)  ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า  2.0  เมกะบิตต่อวินาที  แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม  คำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที  ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที  เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั่นเอง 




ที่มา : หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ม.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน